เห็บ (Ticks)
November 26, 2023
เป็นปรสิตภายนอกที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับสัตว์เลี้ยงในประเทศไทย มีหลายสายพันธุ์แต่สายพันธุ์ที่พบได้มากที่สุดในสุนัขเลี้ยงในประเทศไทยคือ Rhipicephalus sanguineus มีรูปร่างแตกต่างกันขึ้นกับช่วงชีวิต โดยเห็บตัวเต็มวัยจะมีขา 8 ขา และจะมีส่วนหัวไม่ชัดเจน แต่จะเห็นส่วนที่เป็นปากยื่นออกมาทางตอนหน้าตัว เห็บจะใช้ส่วนปากของมันแทงผิวหนังของสุนัขและฝังปากของมันเข้าในชั้นใต้ผิวหนัง เพื่อเกาะบนตัวสุนัข แล้วดูดกินเลือดเป็นอาหาร
วงจรชีวิต
วงจรชีวิตของเห็บต่อสุนัขค่อนข้างซับซ้อนเนื่องจากเห็บมีการขึ้นลงหรือเข้าออกตัวสัตว์หลายครั้ง โดยมีระยะที่สำคัญ 4 ระยะคือ ไข่ (Egg), ตัวอ่อน (Larva หรือ Seed ticks) มี 6 ขา, ตัวกลางวัย (Nymph) มี 8 ขา และตัวเต็มวัย (Adult) มี 8 ขา
การก่อโรค (ความสำคัญทากการแพทย์และสัตวแพทย์)
- ทุกระยะของเห็บยกเว้นไข่จะดูดกินเลือดของสุนัขเเละสัตว์เลี้ยง รวมถึงคนด้วยแต่ไม่บ่อยนัก
- การดูดกินเลือดจำนวนมากเนื่องจากติดเห็บจำนวนมากจะส่งผลให้สุนัขเเละสัตว์เลี้ยงเกิดภาวะโลหิตจาง
- รอยกัดของเห็บจะทำให้เกิดบาดแผลบนผิวหนังของสุนัข ซึ่งอาจพัฒนาไปสู่สภาวะผิวหนังอักเสบ ติดเชื้อเป็นหนอง
- ก่อให้เกิดความรำคาญและอาการคัน เนื่องจากการกัด น้ำลายเห็บ การอักเสบของผิวหนัง ทำให้สุนัขไม่สบายตัว เกาและเกิดแผลตามมาได้
- เห็บยังเป็นพาหะของเชื้อพยาธิในเม็ดเลือด
- โรคไข้เห็บ (Babesiosis)
- Ehrlichiosis
- Hepatozoonosis
ซึ่งส่งผลให้สุนัขเจ็บป่วย มีไข้สูง โลหิตจาง และนำไปสู่การเสียชีวิต
ที่มา : http://ku-vim.vet.ku.ac.th/?page_id=116
เรื่องน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง
แสดงทั้งหมดเห็บ (Ticks)
November 26, 2023
เป็นปรสิตภายนอกที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับสัตว์เลี้ยงในประเทศไทย มีหลายสายพันธุ์แต่สายพันธุ์ที่พบได้มากที่สุดในสุนัขเลี้ยงในประเทศไทยคือ Rhipicephalus sanguineus มีรูปร่างแตกต่างกันขึ้นกับช่วงชีวิต โดยเห็บตัวเต็มวัยจะมีขา 8 ขา และจะมีส่วนหัวไม่ชัดเจน แต่จะเห็นส่วนที่เป็นปากยื่นออกมาทางตอนหน้าตัว เห็บจะใช้ส่วนปากของมันแทงผิวหนังของสุนัขและฝังปากของมันเข้าในชั้นใต้ผิวหนัง เพื่อเกาะบนตัวสุนัข แล้วดูดกินเลือดเป็นอาหาร
วงจรชีวิต
วงจรชีวิตของเห็บต่อสุนัขค่อนข้างซับซ้อนเนื่องจากเห็บมีการขึ้นลงหรือเข้าออกตัวสัตว์หลายครั้ง โดยมีระยะที่สำคัญ 4 ระยะคือ ไข่ (Egg), ตัวอ่อน (Larva หรือ Seed ticks) มี 6 ขา, ตัวกลางวัย (Nymph) มี 8 ขา และตัวเต็มวัย (Adult) มี 8 ขา
การก่อโรค (ความสำคัญทากการแพทย์และสัตวแพทย์)
- ทุกระยะของเห็บยกเว้นไข่จะดูดกินเลือดของสุนัขเเละสัตว์เลี้ยง รวมถึงคนด้วยแต่ไม่บ่อยนัก
- การดูดกินเลือดจำนวนมากเนื่องจากติดเห็บจำนวนมากจะส่งผลให้สุนัขเเละสัตว์เลี้ยงเกิดภาวะโลหิตจาง
- รอยกัดของเห็บจะทำให้เกิดบาดแผลบนผิวหนังของสุนัข ซึ่งอาจพัฒนาไปสู่สภาวะผิวหนังอักเสบ ติดเชื้อเป็นหนอง
- ก่อให้เกิดความรำคาญและอาการคัน เนื่องจากการกัด น้ำลายเห็บ การอักเสบของผิวหนัง ทำให้สุนัขไม่สบายตัว เกาและเกิดแผลตามมาได้
- เห็บยังเป็นพาหะของเชื้อพยาธิในเม็ดเลือด
- โรคไข้เห็บ (Babesiosis)
- Ehrlichiosis
- Hepatozoonosis
ซึ่งส่งผลให้สุนัขเจ็บป่วย มีไข้สูง โลหิตจาง และนำไปสู่การเสียชีวิต
ที่มา : http://ku-vim.vet.ku.ac.th/?page_id=116